วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทสรุป

ความหมายของการขนส่งผู้โดยสาร การท่องเที่ยว
เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยประจำไปยังแหล่งท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมธรรมชาติและคุณค่าทางวัฒนธรรม ต้องอาศัยยานพาหนะในการขนส่งไปยังแหล่งท่องเที่ยวตามต้องการ

พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2525 อธิบายว่า

                    การขน หมายถึง การนำของมากๆจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง
                    การส่ง หมายถึง การยื่นให้ถึงมือ พาไปให้ถึงที่
                    ดังนั้น การขนส่ง จึงหมายถึง การนำไปและนำมาซึ่งของมากๆ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

พระราชบัญญัติการขนส่ง 2497 มาตรา4

การขนส่ง หมายถึงการลำเลียง หรือการเคลื่อนย้ายบุคคล หรือสิ่งของด้วยเครื่องมืออุปกรณ์การขนส่ง ซึ่งหมายถึงยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งรวมทั้งเครื่องทุ่นแรงต่างๆ

ความหมายตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์

การขนส่งเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างหนึ่งที่จัดให้มีการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ และสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง    เวลาใดเวลาหนึ่ง
**ดังนั้นการขนส่ง จึงหมายถึงการจัดให้มีการเคลื่อนย้าย บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามความประสงค์ของมนุษย์
ลักษณะของการขนส่งทั่วไป
-ถ้าเป็นการขนส่งคนเรียกว่า การขนส่งผู้โดยสาร
-ถ้าเป็นการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ เรียกว่า การขนส่งสินค้า
**ความหมายของการขนส่งผู้โดยสารคือ การจัดให้มีการเคลื่อนย้ายบุคคล ด้วยเครื่องมืออุปกรณ์การขนส่ง  จากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง ตามความประสงค์ของบุคคลนั้นๆ
ลักษณะสำคัญของการขนส่ง ๓ ประการ
เคลื่อนย้ายบุคคลจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
เคลื่อนย้ายตามความประสงค์ของบุคคล
เคลื่อนย้ายตามยานพาหนะ
ความสัมพันธ์ระหว่างการขนส่งกับการท่องเที่ยว

ความสัมพันธ์ระหว่างการขนส่งผู้โดยสารกับการท่องเที่ยว ๖ ประการ

๑.การขนส่งผู้โดยสารทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไป-กลับจากแหล่งท่องเที่ยวได้  เช่น การขนส่งผู้โดยสาร
ไป-กลับ กรุงเทพฯ-อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
๒.การขนส่งผู้โดยสารทำให้เกิดการบริการที่สะดวกสบายระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว
๓.การขนส่งผู้โดยสารกระตุ้นให้มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
-การท่องเที่ยวด้วยวัตถุประสงค์ต่างๆ
-กระตุ้นความต้องการเดินทางท่องเที่ยว
-กระตุ้นการพัฒนาเส้นทางคมนาคมและยานพาหนะ
๔.การขนส่งผู้โดยสาร เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ประสิทธิภาพของการขนส่งผู้โดยสาร

-ส่งเสริม อสก.ทท.ให้เติบโต                                 -คุณภาพชีวิต
-สร้างงาน                                               -สร้างอาชีพ
๕.การขนส่งผู้โดยสาร เป็นโครงสร้างพื้นฐาน(Infrastructure)การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
๖.การเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกระตุ้นการพัฒนาการขนส่งผู้โดยสาร
*นักท่องเที่ยวเพิ่มปริมาณขึ้น *อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเติบโต *ความต้องการใช้บริการขนส่งเพิ่มขึ้น* กระตุ้นการพัฒนา
ระบบการขนส่งผู้โดยสาร
ศักยภาพของเครือข่ายการขนส่งผู้โดยสาร
มีส่วนทำให้เพิ่มหรือลดการเดินทางท่องเที่ยว  แหล่งท่องเที่ยวต้องมีเครือข่ายมากพอและมีมาตรฐานในการรองรับ
-ถนนกว้าง                                         -ที่จอดรถพอ
-ป้ายสื่อความหมาย                             -สัญญาณจราจร

เครือข่ายการขนส่งผู้โดยสาร

เครือข่ายการเดินทางทางอากาศและทางเรือ

ต้องใช้เส้นทางการบินหรือเพดานบินและร่องน้ำที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
-ป้องกันการชนกัน                                                -ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า
***ดังนั้นถนน รางรถไฟ ร่องน้ำและเส้นทางบิน  ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของเครือข่ายการขนส่งผู้โดยสาร
เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า  ผู้โดยสารหรือนักท่องเที่ยวจะได้รับความสะดวกสบายเพียงใดในการเดินทางท่องเที่ยว เมื่อนักท่องเที่ยวใช้ระบบการขนส่งผู้โดยสารในท้องถิ่นด้วยจะช่วยเพิ่มความสะดวกมากขึ้น
*******************************************************************************
ลักษณะของการขนส่งผู้โดยสาร

มีองค์ประกอบ ๓  ประการ  คือ

                    เป็นกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายบุคคลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
                    เป็นการเคลื่อนย้ายที่ต้องกระทำด้วยอุปกรณ์การขนส่งต่างๆ
                    เป็นการเคลื่อนย้ายตามความประสงค์ของบุคคล  เพื่อประโยชน์ของผู้ที่ต้องการได้รับบริการจากขนส่ง
หน้าที่ของการขนส่งผู้โดยสาร
                    ผลิตบริการเพื่อบำบัดความต้องการของมนุษย์ในการเดินทางจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่ง  เพื่อให้เกิดอรรถประโยชน์ด้านเวลาและสถานที่
                    มิใช่เพื่ออรรถประโยชน์ด้านกายภาพ 
                    บางคนอาจเมารถ เมาเรือ เมาเครื่อง หรือปวดเมื่อย
ความสำคัญของการขนส่งผู้โดยสาร
การขนส่งผู้โดยสาร เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมการเดินทางของบุคคลจากที่แห่งหนึ่งไปยังอีกแห่งหนึ่งตามวัตถุประสงค์ของผู้เดินทาง เพื่อให้เกิดอรรถประโยชน์ด้านเวลาและสถานที่


ความสำคัญของการขนส่งผู้โดยสารต่อการพัฒนาประเทศ

การขนส่งเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐาน (Infrastructure) ที่ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ

-เศรษฐกิจ              -สังคม                     -การเมือง                               -การทหาร
**การขนส่งผู้โดยสารเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างคนในชาติเป็นกุญแจดอกสำคัญเปิดทางให้ประเทศชาติบรรลุถึงการพัฒนาและความมั่งคั่ง
ความสำคัญของการขนส่งผู้โดยสาร ด้านเศรษฐกิจ
                    ทำให้นักธุรกิจสามารถเดินทางไป-มา เพื่อติดต่อค้าขายได้ ทั้งในและต่างประเทศ  อาทิ การร่วมงานมหกรรมการแสดงสินค้า ก่อให้เกิดการค้าขาย
                    ก่อให้เกิดรายได้มหาศาลแก่ประเทศ จากการนิยมเดินทางท่องเที่ยว การขนส่งช่วยขนส่งนักท่องเที่ยวไป Tourism destinations                    
                    ทำให้เกิดรายได้แบบ multiplier effects
**Multiplier effects คือ อะไร ผลกระทบที่ตามมาอย่างมากมายมหาศาลทางด้านธุรกิจได้แก่    ค่าที่พักแรม   ร้านอาหาร
ความสำคัญของการขนส่งผู้โดยสารทางเศรษฐกิจรูปแบบอื่นๆ
การขนส่งช่วยลดปัญหาการว่างงาน ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามภูมิภาค จากไหน….ไปไหน….
การขนส่งทำให้เกิดการลงทุน
การลงทุนทางตรง                        มีการประกอบการเพื่อตอบสนองความต้องการและเพื่อผลกำไร
การลงทุนทางอ้อม                        ขนย้ายนักธุรกิจต่างชาติมาลงทุน
การขนส่งผู้โดยสารทำให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ทำให้มีการร่วมมือลงทุนด้านการขนส่งระหว่างประเทศ การขนส่งผู้โดยสารช่วยลดการขาดดุลการชำระเงินของประเทศ

-สายการบินนำนักท่องเที่ยวมาใช้จ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ
-การใช้สายการบินในประเทศเงินไม่รั่วออก


ความสำคัญของการขนส่ง ทางด้านสังคม
-การขยายตัวของเมืองการเดินทางสะดวกชุมชนขยายตัว
-มาตรฐานการศึกษาและการครองชีพดีขึ้น
-การเดินทางสะดวก ลดการแบ่งแยก ทางสังคมระหว่าง เมืองกับชนบท
-เกิดการแลกเปลี่ยน ทางวัฒนธรรม ข้ามพื้นที่ทางวัฒนธรรม                        การแลกเปลี่ยนนาฏศิลป์
ความสำคัญของการขนส่งผู้โดยสารด้านการเมือง
-ช่วยให้เกิดความสามัคคี /เข้าใจกันและกัน
-เพิ่มความสัมพันธ์ ระหว่างประเทศ
-เกิดความภาคภูมิใจ (บางคนเสียใจ?)ในชาติ                     สุวรรณภูมิ
-การปกครองประเทศ เป็นไปด้วยดี                                    ติดตามนโยบายของรัฐได้
ความสำคัญของการขนส่งผู้โดยสารด้านการทหาร
-สนับสนุนการป้องกันประเทศ            -ทำให้เกิดความมั่นคง
-เคลื่อนย้ายกำลัง/ เสบียงอาหาร        -ส่งกำลังทหารไปปราบปราม
ปัญหาของการขนส่งผู้โดยสาร
-ก่อให้เกิดอากาศเป็นพิษ                    -ก่อให้เกิดน้ำเป็นพิษ
-ก่อให้เกิดเสียงรบกวน                       -ก่อให้เกิดการจราจรติดขัด
-ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ                             -ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการลงทุน
การขนส่งผู้โดยสารก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ

-อุปกรณ์การขนส่งใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน                        ก๊าซโซลีน และดีเซล                   Pollutant

สารตะกั่ว คาร์บอนมอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์         ปนเปื้อนกับฝุ่นและ re-acted กับแสงอาทิตย์

แปรสภาพคล้ายหมอกควัน

-ป้องกันได้โดยใช้พลังงานไฟฟ้าและนิวเคลียร์
การขนส่งก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ
-ต้องมีการป้องกัน แก้ไขและควบคุม
-น้ำมันรั่วไหลปนเปื้อนลงน้ำทำให้น้ำเป็นพิษ การ recycle น้ำมันเครื่องช่วยได้มาก
การขนส่งผู้โดยสารก่อให้เกิดเสียงรบกวน
อุปกรณ์การขนส่งทำให้เกิดเสียงดังอึกทึก กระทบชุมชนใกล้สถานีขนส่งถนนหรือสนามบิน แก้ไขยากสิ้นเปลืองอาจได้ผลหรือไม่ได้ผลอาจต้องย้ายชุมชนออก
การขนส่งผู้โดยสารก่อให้เกิดการจราจรติดขัด
จราจรติดขัดเกิดจาก                   ขึ้นอยู่กับ วัน เวลา ช่วง ฤดูขนาดผังเมือง    ปริมาณอุปกรณ์ขนส่ง นิสัยการใช้บริการขนส่ง
**การแก้ไข  ทางอากาศ           -แก้ไขตารางบิน                               -ปรับระบบเข้า-ออกairport
                       ทางบก                 -ใช้ระบบMTS.แทนPrt. Cars       -สร้างที่จอดรถเพิ่ม(park &ride)
                       ทางน้ำ               -----------------------------------

การขนส่งก่อให้เกิดอุบัติเหตุ (ตลอดเวลา)

ปัญหาเกิดจาก                        ขาดความระมัดระวัง(ประมาท)        รู้เท่าไม่ถึงการณ์       ขาดความรอบรู้

สาเหตุของอุบัติเหตุ                    สภาพการขนส่ง     สภาพแวดล้อม    ผู้ขับขี่

การขนส่งก่อให้เกิดปัญหาต่อการลงทุน
-ต้องใช้เงินมากเพื่อ                               -จ้าง/ ตอบแทนบุคลากรทางด้านธุรกิจขนส่ง
-จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ
การให้บริการขนส่งผู้โดยสาร
เมื่อการเดินทางมี ๓ รูปแบบ     การขนส่งในเมือง     ระหว่างเมือง       ระหว่างประเทศ

การบริการขนส่งผู้โดยสาร ก็มี 3 รูปแบบ ดังนี้
๑.การให้บริการขนส่งผู้โดยสารในตัวเมือง
๒.การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง
๓.การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ
การให้บริการขนส่งผู้โดยสารในตัวเมือง หมายถึง ความพยายามในการจัดการขนส่งผู้โดยสารในชุมชนซึ่งอาจเป็นเทศบาลเมืองต่างๆหรือเมืองหลวง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม
แบ่งเป็น ๓ รูปแบบย่อย
-การขนส่งผู้โดยสารไป-กลับภายในตัวเมือง
-การขนส่งผู้โดยสารจากในเมือง ไปนอกเมือง
-การขนส่งผู้โดยสารจากนอกเมือง เข้าตัวเมือง
การขนส่งผู้โดยสารในตัวเมืองต้องมีกระบวนการเรียกว่า การสำรวจผู้โดยสาร(Passenger Survey)
-เพื่อศึกษาความต้องการใช้บริการการขนส่งสาธารณะ ขึ้นรถสายไหน        ขึ้นรถเวลาใด         ต่อรถที่ไหน

ในการสำรวจฯถือว่า  ขึ้นรถโดยสารแล้วลง ๑ ครั้งเรียกว่า “one passenger trip

-เพื่อนำข้อมูลมาจัดเส้นทาง ตารางเดินรถและจำนวนรถให้เหมาะสม

สร้างระบบการขนส่งมวลชน(mass transit  system)

**สร้างระบบการขนส่งมวลชนแบบ mass  transit  system ในเมืองเพราะ ขนส่งได้มากและรวดเร็ว มีทั้ง รถไฟฟ้าใต้ดิน  รถรางไฟฟ้า รถไฟรางเดียว
การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง หมายถึง ความพยายามในการจัดการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองต่างๆให้สอดคล้องกับความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม รถยนต์มีบทบาทสำคัญที่สุด   รถไฟรองลงมา   เครื่องบินมีบทบาทน้อย(แพง)    เรือแทบไม่มีบทบาท(มักบริการด้านท่องเที่ยว)
การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ หมายถึง ความพยายามในการจัดการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศให้มีประสิทธิภาพ มีการขนส่งทางเครื่องบิน ๙๐ %   ทางเรือมีบทบาทรองลงมา   ทางบกรถยนต์   รถไฟ  น้อยที่สุด


ประเภทของการขนส่งผู้โดยสาร แบ่งเป็น 4 ประเภทดังนี้
                    การขนส่งด้วยรถยนต์                     -การขนส่งด้วยรถไฟ
                    การขนส่งด้วยเรือ                                  -การขนส่งด้วยเครื่องบิน
                    ประเภทอื่นคานหาม เสลี่ยงกระเช้าไฟฟ้า
สรุป **
                    การขนส่งผู้โดยสารช่วยกระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยว              -เกิดการลงทุนด้านการท่องเที่ยว
                    นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวอย่างสะดวก         -เกิดการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
                    สร้างรายได้ในท้องถิ่นที่เชื่อมโยงกับกระบวนการขนส่ง
รูปแบบการขนส่งผู้โดยสาร
การขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์ หมายถึง การเคลื่อนย้ายบุคคลด้วยรถยนต์ซึ่งวิ่งบนท้องถนน
                    ถนนกับรถยนต์จึงเป็นของคู่กัน             -ที่ใดมีถนน  ที่นั่นต้องมีรถยนต์
ถนนเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญเพราะเหตุใด?
               รัฐบาลทุ่มเงินจำนวนมากสร้างถนนเชื่อมโยงชุมชนต่างๆให้สามารถติดต่อกันได้
               เป็นการสร้างความเจริญแก่ท้องถิ่น
ทำไมประชาชนจึงนิยมเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวไปสู่แหล่งท่องเที่ยวมากที่สุด?
-ประหยัด                                               - เรือ เครื่องบิน หรือรถไฟเข้าไม่ถึงแหล่งท่องเที่ยว
-เข้าถึงจุดหมายปลายทางโดยตรง     -รถยนต์คล่องตัวกว่า            -สะดวกกว่าทางเรือเครื่องบิน รถไฟ
เหตุผลอื่นๆ
การขนส่งทางรถยนต์ไม่ต้องสร้างถนนเอง ไม่ต้องสร้างรางเองเหมือนรถไฟ ไม่ต้องสร้างสนามบินเอง ไม่ต้องสร้างท่าเรือเอง
วิวัฒนาการของการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์
-เดินเท้า ลัดเลาะเลี้ยงสัตว์                                  -ใช้สัตว์เป็นพาหนะ
-C.๑๕ ประดิษฐ์รถเทียมม้า วิ่งบนเส้นทาง         -เครื่องจักรไอน้ำค.ศ.๑๗๗๖
วิวัฒนาการของถนน
-ทางเท้าสร้างพอผ่านได้       -บดหินหักเป็นผิวทา          -ขุดร่องข้างทางระบายน้ำ
หลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
การขนส่งฯด้วยรถยนต์ก้าวหน้ามากขึ้น   ถนน สะพานถือเป็นงานศิลปะ สะพาน Golden Gate สะพานพระราม ๙ ทางด่วนข้ามมหานคร   มนุษย์จินตนาการสร้างรถทันสมัย  จอภาพเห็นด้านหลัง Sensor ของเบรกอัตโนมัติเครื่องยนต์ เทอร์ไบน์ก๊าซเร็ว  ไร้มลพิษตัวถังเบา ติดปีกทรงตัว

วิวัฒนาการเชื้อเพลิงน้ำมัน
                    น้ำมันก๊าด                              -ธรรมชาติ
                    ก๊าซโพรเพน                           -แอลกอฮอล์
                    โซลาร์                                     -เซลล์ไฟฟ้า
ก๊าซจากอ่าวไทยและนำเข้าจากพม่า
                    ผ่านกระบวนการแยกก๊าซที่โรงงาน  เพื่อแยกก๊าซที่มีไฮโดรคาร์บอน ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปออก
                    เหลือเฉพาะก๊าซที่มีคาร์บอน 1 ตัว เรียกว่าก๊าซมีเทน และส่งเข้าระบบท่อ เพื่อเป็นเชื้อเพลิงหลักผลิตไฟฟ้าและใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
                    บางส่วนใช้ในภาคขนส่ง โดยนำก๊าซธรรมชาติไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง และนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์ หรือที่รู้จักกันในชื่อ NGV หรือ CNG
กระบวนการแยกก๊าซ
                    สิ้นปี 2549 ปริมาณก๊าซที่นำขึ้นจากอ่าวไทย มีปริมาณวันละประมาณ 2,225 ล้านลูกบาศก์ฟุต
                    ผ่านกระบวนการแยกก๊าซ C2 (อีเทน) C3 (โพรเพน) และ             C4 (บิวเทน) ออกประมาณ 512 ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือร้อยละ 23
                    ส่วนที่เหลือ(มีก๊าซมีเทนเป็นส่วนประกอบหลัก) ประมาณ 1,713 ล้านลูกบาศก์ฟุต จะถูกส่งกลับเข้าระบบท่อ
รถลากในประเทศไทย
                    รถลาก/ รถเจ๊ก มีแต่คนจีนเป็นผู้มีอาชีพรับจ้างลาก  เดิมเป็นของญี่ปุ่น 
                    ในรัชกาลที่ 4 นั้น พวกพ่อค้าสำเภานำมาน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จึงโปรดฯให้ซื้อเข้ามาพระราชทานเจ้านาย และขุนนางผู้ใหญ่บ้าง สั่งซื้อกันเองบ้าง ใช้เป็นพาหนะส่วนพระองค์และส่วนตัว
                    เมื่อผู้คนนิยมกันมากขึ้น พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) จึงตั้งโรงงานทำรถลากขึ้นในเมืองไทยโดยสั่งช่างมาจากเมืองจีน
                    รถลากรับจ้างเริ่มมีบนถนนมากขึ้น จนกระทั่งจำเป็นต้องควบคุม รัชกาลที่5 จึงโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติรถลาก ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2444) ขึ้น โดยมีพระราชปรารภว่า
                    "กรุงเทพพระมหานครในทุกวันนี้ มีรถคนลากสำหรับรับจ้างคนโดยสาร และรับบรรทุกของเดินในถนนหนทางทวียิ่งขึ้นเป็นอันมาก แต่รถที่ใช้นั้นไม่แข็งแรงมั่นคง แลไม่มีสิ่งที่สำหรับป้องกันอันตรายของผู้โดยสาร กับทั้งไม่สะอาดเรียบร้อยตลอดไปจนคนลากรถด้วย ย่อมเป็นที่รังเกียจรำคาญแก่ผู้ที่จะใช้รถ หรือผู้เดินทางในท้องถนนร่วมกัน อีกประการหนึ่ง คนที่ลากรถนั้น บางทีรับคนโดยสารหรือรับบรรทุกสิ่งของที่มากหรือหนักเกินกำลังรถที่จะพาไปได้ จนเป็นเหตุเกิดอันตรายแก่คนโดยสารแลคนเดินทางกับทั้งรถ แลไม่เป็นความเรียบร้อยในท้องถนนอีกด้วย"
                    พระราชบัญญัติรถลาก ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2444) บังคับให้ต้องจดทะเบียนรถ และต้องนำรถมาตรวจสภาพต่อเจ้าพนักงานจดทะเบียน หลังจดทะเบียนแล้ว เจ้าหน้าที่จะให้เลขหมายติดรถ และให้เครื่องหมายที่มีเลขตรงกันกับทะเบียนรถให้คนลากติดหน้าอกไว้ให้ตรงกัน บังคับให้จุดโคมไฟเวลากลางคืน และยังมีข้อบังคับปลีกย่อยอีกหลายข้อ เช่นห้ามบรรทุกศพคน ให้จอดพักรถตามที่พนักงานกำหนดไว้เท่านั้น ฯลฯ
                    รถลากหรือรถเจ๊กนี้ วิ่งในถนนตั้งแต่ พ.ศ. 2417เลิกใช้ตามกฎหมาย เมื่อ พ.ศ. 2478 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง
**ประวัติการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์ในประเทศไทย
-สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กราบทูล สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
-รถยนต์คันแรกในไทยเจ้าพระยา สุรศักดิ์มนตรี
-พ.ศ.๒๔๔๗  สมเด็จเจ้าฟ้า  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  เสด็จฯปารีส  ทรงสั่งซื้อรถเก๋งยี่ห้อเมอร์ซิเดส เดมเลอร์
ของเยอรมนี ๑ คัน ทูลเกล้าฯถวายรัชกาลที่๕  เป็นรถยนต์พระที่นั่งคันรก
**-ร.๕ ทรงเห็นประโยชน์ของรถยนต์(เร็ว/ สบาย)มีถนนในกรุงเทพฯมากแล้วโปรดฯให้กรมหลวงราชบุรีฯซื้ออีก ๑๐ คันแจกเจ้านายและขุนนางในวันเฉลิมพระชนมพรรษา(๒๔๔๗)

พระราชบัญญัติรถยนต์ฉบับแรก
                    ผู้มีฐานะดีสั่งซื้อรถยนต์ตามพระราชนิยม
                    แปลกและดีกว่า  รวดเร็วกว่า  รถราง รถม้า รถลาก
                    เริ่มมีรถยนต์เพื่อบริการขนส่งผู้โดยสารขึ้นในประเทศไทย
                    ถนนที่เคยกว้างขวางก็ดูแคบลง   เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง
                    ตราพระราชบัญญัติรถยนต์ฉบับแรก บังคับใช้ เมื่อ ๑ เมษายน ๒๔๔๙  (ปีใหม่)
                    รถเมล์ประจำทางที่มีใช้กำลังม้าลากจูงแทน ไม่ต้องอาศัยน้ำมันเชื้อเพลิง
                    พระยาภักดี นรเศรษฐ (นายเลิศ เศรษฐบุตร) ริเริ่มกิจการรถเมล์
                    พ.ศ. 2456 พระยาภักดีฯนำรถยนต์ฟอร์ดวิ่งแทนรถเดิม
                    มีที่นั่ง 2 แถว ทาสีขาว มีกากบาทสีแดง นั่งประมาณ 10 คน
                    คนทั่วไปเรียกว่าอ้ายโกร่ง ตอนวิ่งมีเสียงดังโกร่งกร่าง
พัฒนาการของรถโดยสาร (รถเมล์) เรียก รถเมล์เพราะมี เรือเมล์
                    พ.ศ.๒๔๖๗  มีรับจ้าง(แท็กซี่) เป็นครั้งแรกโดยพระยาเทพหัศดินทร์ให้บุตรหลานนำรถยนต์ออกมาวิ่งรับจ้าง ติดป้ายรับจ้างหน้าและหลัง
                    เรียกว่า รถไมล์เพราะคิดราคาเป็นไมล์
ความได้เปรียบเสียเปรียบของการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์
-ผู้โดยสารมีโอกาสเลือกได้มากขึ้น
-หน่วยของกิจการมีขนาดเล็กมากเทียบกับการขนส่งด้านอื่น  ลงทุนน้อย รัฐสร้างถนนให้ ออกรถให้บริการได้
-ขยายธุรกิจได้เร็วไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ
-ดำเนินการแบบผู้ประกอบการรายย่อยได้ตามความพอใจคล่องตัว เร็ว
-เป็นการขนส่งแบบAlternative Supplying อย่างเหมาะสม
-เร็ว คล่อง ไปไหนมาไหนตามต้องการได้สะดวก ไม่มี Time table
-เลิกกิจการได้ง่ายเสียหายน้อย ขายง่ายเพราะมีต้นทุนคงที่(fixed cost) ต่ำ ต้นทุนขนส่งระยะใกล้ต่ำ
-Door to Door Service
ต้นทุนคงที่ ( Fixed costs )
1.       เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ผันแปรไปตามจำนวนหน่วยผลิตหรือขาย       
2.       ทำให้ต้นทุนคงที่รวมคงที่ตลอดเวลา
**แต่ต้นทุนคงที่ต่อหน่วย เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าเช่า เงินเดือน ภาษีทรัพย์สิน เป็นต้น จะลดลง ถ้าปริมาณการผลิตหรือขายสูงขึ้น
ต้นทุนผันแปร ( Variable costs )
เป็นค่าใช้จ่ายที่ผันแปรไปตามจำนวนหน่วยผลิตหรือขายถ้าปริมาณการผลิตหรือขายมากต้นทุนผันแปรจะมาก
แต่ถ้าปริมาณการผลิตหรือขายน้อยต้นทุนผันแปรจะน้อย
**ต้นทุนผันแปรรวม  จะเปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณการผลิตหรือขาย แต่ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยจะคงที่
เช่น ค่าวัตถุดิบ/ค่าแรง/ค่านายหน้า
ความเสียเปรียบของการขนส่งผู้โดยสารทางรถยนต์
ขนส่งผู้โดยสารได้น้อย                         ต้องขนมากเที่ยว                  พื้นที่แคบ                                 เสียเวลา
ต้นทุนระยะไกลสูง                               มีต้นทุนผันแปรมาก              ยิ่งขนส่งไกล                           ต้นทุนผันแปรยิ่งสูง
เกิดอุบัติเหตุง่าย                                   ใช้ถนนร่วมกับผู้อื่น               มีรถร่วมทางหลากหลาย      จราจรติดขัด
อุปกรณ์ล้าสมัยเร็ว                               มีการเปลี่ยนรุ่นบ่อย             อะไหล่หายาก                       เสื่อมราคาเร็ว
องค์ประกอบของการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์
-ผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถยนต์                         -สถานีขนส่งผู้โดยสาร
-ผู้โดยสาร                                                              -เส้นทางถนน
๑. ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์ Carriers
ผู้ผลิตบริการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์ (บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล) สนองความต้องการผู้ใช้บริการ เพื่อบำเหน็จทางการค้า
Public Carriers ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์สาธารณะตั้งแต่ ๗ ที่นั่ง หรือเกิน ๗ ที่นั่ง ทั้งประจำเส้นทาง/ ไม่ประจำเส้นทาง เพื่อสินจ้าง
Contract Carriers ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์ตามสัญญาเพื่อสินจ้าง  ภายใต้สัญญาเช่าเหมากับบุคคลหนึ่งโดยมีวัตถุประสงค์จะให้บริการตามสัญญาในระยะเวลาอันต่อเนื่อง  เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้บริการ
Private Carriers ผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล   เพื่อกิจการของตนเอง  มีรถยนต์ใช้ขนส่งผู้โดยสารของตนเอง เช่น บริษัทการบินไทย มธบ. ฯลฯ 
๒.รถยนต์โดยสาร
เป็นยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร
รถโดยสารชั้นเดียว เน้นความสะดวกสบาย
รถโดยสารสองชั้น ทางไกลต้องมี
-ห้องน้ำ                                  -เครื่องปรับอากาศ
รถยนต์โดยสารมี ๓ ประเภท
รถยนต์โดยสารสาธารณะ รถประจำทาง bus Local &tourist รถแท็กซี่สะดวกค่อนข้างแพงต้องควบคุม
รถยนต์บริการ  รถเช่า rental car  รถทัวร์เช่าเหมา charter coach tour รถรับส่งที่สนามบิน limousine(transfer)
รถยนต์โดยสารส่วนบุคคล นิยมมากป้ายดำขาวน้ำเงิน รถทะเบียนกองทัพ
ข้อสังเกตความนิยมในการใช้รถส่วนบุคคลมีเหตุผลสำคัญ 5 ประการคือ
-ควบคุมการเดินทางท่องเที่ยวได้                        -จะออกเดินทาง หยุดพัก  แวะที่ใดก็ได้
-นำสัมภาระติดตัวไปได้มาก                               -ประหยัดค่าใช้จ่ายถ้าเดินทาง 2 คนขึ้นไป
-สามารถใช้รถต่อได้ หลังจากถึงที่หมายแล้ว
รถโดยสารสมัยหลังสงครามโลก ดัดแปลงต่อกระบะท้ายให้นั่งได้ บรรทุกของบนหลังคาก็ได้ ป้ายหน้ารถเป็นรถประจำทางวิ่งระหว่างบ้านโป่ง - โพธาราม - ราชบุรี แต่คงถูกเหมาไปในงานดูจากมีธงโบกนำหน้า
เส้นทางถนนแบ่งได้ 5 ประเภทตามลักษณะการใช้งาน
·        ถนนในท้องถิ่น                                       ถนนระหว่างท้องถิ่น              ถนนระหว่างประเทศ
·        ถนนพิเศษ                                              ถนนวงแหวน

ทางหลวงในประเทศไทย 7 ประเภท
·        ทางหลวงพิเศษ                                     ทางหลวงจังหวัด
·        ทางหลวงสัมปทาน                               ทางหลวงแผ่นดิน
·        ทางหลวงชนบท                                     ทางหลวงเทศบาล
·        ทางหลวงสุขาภิบาล

**ทางหลวงสายหลัก
·        ทางหลวงหมายเลข 1 (สายเหนือ) ชื่อถนนพหลโยธิน (เดิมชื่อ ถ.ประชาธิปไตย) จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-เชียงราย ( 845 ..)
·        ทางหลวงหมายเลข 2 (สายตะวันออกเฉียงเหนือ) ชื่อถนนมิตรภาพ (แยกจากทางหลวงสายที่ 1 ที่สระบุรี) ถึงหนองคาย ( 408 ..)
·        ทางหลวงหมายเลข 3 (สายตะวันออก) ชื่อถนนสุขุมวิท จากกรุงเทพฯ-ตราด ( 315 ..)
·        ทางหลวงหมายเลข 4  (สายใต้) ชื่อถนนเพชรเกษมจากกรุงเทพฯ-.สะเดา จ.สงขลา( 1,305..)

ทางหลวงสายรอง ซึ่งตัดเชื่อมกับทางหลวงแผ่นดิน    กรมทางหลวงใช้ตัวเลข 3 ตัว
·        ขึ้นต้นด้วยเลข 1 เป็นทางหลวงสายรองอยู่ทางภาคเหนือ (106 เชียงใหม่-ลำพูน)
·        ขึ้นต้นด้วยเลข 2 เป็นทางหลวงสายรองอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (212 หนองคาย-อุบล)
·        ขึ้นต้นด้วยเลข 3 เป็นทางหลวงสายรองอยู่ทางภาคกลาง ตะวันตก ตะวันออก (309 สายวังน้อย-สิงห์บุรี)
·        ขึ้นต้นด้วยเลข 4 เป็นทางหลวงสายรองอยู่ทางภาคใต้ (401 สายตะกั่วป่า-นครศรีธรรมราช)
ทางหลวงจังหวัด ใช้ตัวเลข 4 หลัก
·        ขึ้นต้นด้วยเลข 1 เป็นทางหลวงจังหวัดอยู่ทางภาคเหนือ (1004 เชียงใหม่-ดอยสุเทพ-ดอยปุย)
·        ขึ้นต้นด้วยเลข 2 เป็นทางหลวงจังหวัดอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2078 สุรินทร์-กระสัง)
·        ขึ้นต้นด้วยเลข 3 เป็นทางหลวงจังหวัดอยู่ทางภาคกลาง ตะวันตก ตะวันออก (3049 สายนครนายก-เขาใหญ่)
·        ขึ้นต้นด้วยเลข 4 เป็นทางหลวงจังหวัดอยู่ทางภาคใต้ (4054 สายสะเดา-ปาดังเบซา)

ทางหลวงสายเอเชีย
·        ยาวประมาณ 65,000 .. (15 ประเทศในเอเชียร่วมมือกันเมื่อปี 2502)
·        ภายใต้การดำเนินงานของ ESCAP (คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก)
·        จากตุรกี-เวียดนามตอนบน อินโดนีเซียตอนล่าง

ทางสายเอเชียที่ผ่านไทย
สาย A1 พม่า-แม่สอด-ตาก-กำแพงเพชร-อยุธยา-นครนายก-สระแก้ว-กัมพูชา-โฮจิมินท์ซิตี้
สายA2 พม่า-แม่สาย-ตาก(บรรจบกับ   .พหลโยธินที่ตาก)-กรุงเทพ-.สะเดา   .สงขลา-สิงคโปร์-อินโดนีเซีย
สถานีขนส่ง (Bus Terminal)   มีหน้าที่สำคัญอยู่ 4 ประการ ดังนี้
·        เป็นสถานที่สำหรับขึ้น-ลงรถโดยสาร
·        เป็นสถานที่เชื่อมโยงเครือข่ายรถต่างๆ
·        เป็นสถานที่รวมปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้บริการขนส่ง
·        เป็นสถานที่ให้รถยนต์โดยสารเข้าไปใช้จอดเพื่อรับผู้โดยสาร หรือทางเทคนิคอื่นๆ เป็นต้น

การให้บริการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถยนต์
                    การขนส่งผู้โดยสารในตัวเมือง  จำแนกเป็น รถเมล์ธรรมดา รถเมล์ด่วน รถเมล์ปรับอากาศ  รถเมล์ทางด่วน รถเมล์กะสว่าง รถมินิบัส รถเมล์สองชั้น  รถเมล์ปรับอากาศไมโครบัส
                    การขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง  จำแนกเป็น รถโดยสารมาตรฐาน ๓  รถโดยสารมาตรฐาน ๒  รถโดยสารมาตรฐาน ๑ รถโดยสารมาตรฐานพิเศษ
                    การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างประเทศ  เป็นโครงการในอนาคตสำหรับเส้นทางสายเอเชียที่ตัดผ่านประเทศไทย
Green Bus กรณีศึกษาการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเชียงราย –หลวงพระบาง
                    บริษัท ชัยพัฒนาขนส่งเชียงใหม่ จำกัด  เจ้าของ นายสมชาย ทองคำคูณ กรรมการผู้จัดการ
                    ขยายธุรกิจข้ามพรมแดนครั้งแรกด้วยรถเมล์เขียว ( Green Bus ) เส้นทางห้วยทราย-หลวงพระบาง (30กย.2009)
กรณีศึกษาองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขส.มก.)
                    ดูแลและรับผิดชอบการให้บริการรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง
                    ประกอบการอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการประกอบการขนส่งบุคคล
                    ควบคุมและดูแลผู้ประกอบการเดินรถเอกชนที่ให้บริการรถโดยสารขนาดใหญ่ (ธรรมดาและรถปรับอากาศ)  รถมินิบัสรถในซอย  และรถตู้โดยสารปรับอากาศ
กรณีศึกษาบริษัทนครชัยแอร์ (มาคู่นั่งคู่มาเดี่ยวนั่งเดี่ยว)
v ก่อตั้งเมื่อพ.ศ. 2529 (ค.ศ.1986)
v เริ่มเปิดเส้นทางการเดินรถจำนวน2เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-ขอนแก่นและกรุงเทพฯ-อุบลราชธานี
v ปี พ.ศ. 2530 เป็นบริษัทแรกที่ได้เริ่มนำคำว่า  "รถนอนพิเศษ" มาใช้
v กลยุทธ์เพิ่มพื้นที่ระหว่างที่นั่งและลดจำนวนที่นั่งจาก 42 ที่นั่งเหลือเพียง 32 ที่นั่ง
v พ.ศ. 2531 นครชัยแอร์ ขยายการบริการอีก 4 เส้นทาง คือ อุบลราชธานี - เชียงใหม่ /อุบลราชธานี-ระยอง /เชียงใหม่-ระยอง / พัทยา-แม่สาย
พ.ศ.2535 เริ่มเปิดให้บริการสำรองที่นั่งและจำหน่ายตั๋วด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นบริษัทแรก
                    พ.ศ. 2541 ขยายเส้นทางเพิ่ม 1 เส้นทาง                                คือ กรุงเทพ - เชียงใหม่
                    พ.ศ. 2547 ขยายเส้นทางเพิ่มขึ้นอีก 1 เส้นทาง                       คือ กรุงเทพฯ - ระยอง
                    พ.ศ.๒๕๔๗ เปิดบริการรถทัศนาจรมาตรฐานระดับ 5 ดาว (รับรองโดยกรมการขนส่งทางบก, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยว, และสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสาร)
ปัจจุบัน บริษัท นครชัยแอร์ จำกัด มีรถโดยสารให้บริการกว่า 180 คัน มีจำนวนเที่ยววิ่งให้บริการประมาณ 170 เที่ยวต่อวันมีพนักงานทั้งหมดประมาณ 1,200 คน มีเครือข่ายการเดินรถผ่านกว่า 30 จังหวัดทั่วประเทศตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
การบริการของบริษัท
-รถนอนปรับอากาศพิเศษ (วี.ไอ.พี)                            -รถปรับอากาศชั้นสอง (ป.2)
-รถปรับอากาศชั้นหนึ่ง (ป.1)                                       -บริการรับฝากของ
-บริการสื่อโฆษณา                                                       -บริการรถเช่าเหมาลำ
สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ
§  มาตรฐานของสถานีเดินรถ
§   มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม
§   มาตรฐานการจัดระเบียบบนรถ
**สรุป
·        การขนส่งผู้โดยสารทางรถยนต์มีวิวัฒนาการมาจากการเดินเท้าและการใช้สัตว์เป็นพาหนะเดินทางไปยังที่ต่างๆ
·        ต่อมามีการประดิษฐ์รถยนต์โดยสารที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในทำให้การเดินทางท่องเที่ยวได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น
·        องค์ประกอบการขนส่งฯมี 4 องค์ประกอบคือ 1.ผู้ประกอบการ 2. รถยนต์ 3. เส้นทางถนน 4. สถานีขนส่ง
**************************************************************************************************************************
เรื่อง การขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟ
การขนส่งผู้โดยสารด้วยรถไฟ  หมายถึง การเคลื่อนย้ายบุคคลด้วยตู้รถไฟต่อกันเป็นขบวนวิ่งไปบนรางเฉพาะตามเส้นทาง
คุณลักษณะของรางรถไฟ(ไทย) เหล็กกล้าวางเป็นราง
-รองด้วยหมอนไม้/ คอนกรีต กว้าง ๑ เมตร        -ผิวหน้ารางแข็งลื่นมีความต้านทานน้อย
-เคลื่อนที่ได้ด้วยแรงลากจูงเพียงเล็กน้อย          -รางกว้าง 1 เมตร ปกติวิ่งได้เร็ว 90 กม/ชม.
-เก่าของรถ+ ราง 60 กม./ ชม.
ข้อจำกัดของการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถไฟ
-ขาดความคล่องตัวกว่ารถยนต์   โครงข่ายน้อย No Door to door Service
-ลงทุนสูง  ลงทุนเองเส้นทาง สถานี สะพาน อุโมงค์อาณัติสัญญาณ โทรคมนาคมโรงซ่อมบำรุงรายทางฯลฯ

โอกาส
-ขนส่งผู้โดยสารได้มาก
-ฤดูท่องเที่ยวเพิ่มเที่ยวการเดินรถสะดวกทั้งการกินนอน  สุขาการให้บริการแบ่งเป็นชั้น๑ ชั้น๒ ชั้น๓
-มีบทบาทต่อการท่องเที่ยวระหว่างเมือง
-ต้นทุนต่อหน่วยผลิตบริการลดลงเมื่อมีผู้ใช้บริการมากสามารถจองตั๋วล่วงหน้า

วิวัฒนาการการขนส่งทางรถไฟ
**เริ่มต้นในประเทศอังกฤษ คศ.1830(๒๓๗๓) ให้เริ่มการระหว่างเมือง Manchester-Liverpool ระยะทาง 44 กม. ความเร็ว 26 กม./ชม.
การนำเที่ยวด้วยรถไฟ  
.Thomas Cook จัดนำเที่ยวทางรถไฟ ค..1841 (๒๓๘๔)ระหว่างเมือง Leicester-Loughborough มีนักท่องเที่ยว 570 คน เสียค่าใช้จ่าย 1 ชิลลิง/คนค..1855 (๒๓๙๘).ThomasCook จัดนำเที่ยวทางรถไฟไป Paris ชมงานWorld Expo...1856(๒๓๙๙) .Thomas Cook จัด  A Great Circular Tour of the Continent  ทางรถไฟไปยุโรปอีก ๒-๓ ปี ต่อมาก็จัดบริการนำเที่ยวยุโรปอย่างต่อเนื่อง
วิวัฒนาการของการรถไฟนอกประเทศอังกฤษ
ให้บริการครั้งแรกใน ประเทศ Austria เมื่อ คศ.1832(๒๓๗๕) เรียกว่า สาย Transcontinental USA เริ่มเดินรถไฟครั้งแรกหว่างเมือง Chicago และ San Francisco ในปีคศ. 1896(๒๔๑๒)
**“The Orient Expressหรูหรา ที่สุดในโลก?
-เริ่มให้บริการในปี ค.. 1883 (๒๔๒๖)
-ค.. 1889 (๒๔๓๒) “The Orient Express” เปิดให้บริการระหว่าง Istanbul-Paris ระยะทาง 3,186 กม. ใช้เวลาในการเดินทางรวม 67 ชม. 35นาที
-ปิดตัวค.ศ.๑๙๗๗(๒๕๒๐)
มีการฟื้นฟูบริการของรถไฟ “The Orient Expressอีกครั้งใน ค.. 1987(๒๕๓๐)วิ่งระหว่างเมือง Calais(ฝรั่งเศส)-Venice(อิตาลี)มีทั้งหมด 31 โบกี้
พัฒนาการการใช้พลังงานขับเคลื่อนการขนส่งทางรถไฟ
-ระยะแรกใช้พลังงานไอน้ำ ก่อนพัฒนาไปใช้ไฟฟ้าและดีเซลและกังหันไอพ่น
-ในศตวรรษที่ 20 บทบาทเครื่องจักรไอน้ำในการขับเคลื่อนสิ้นสุดลง หันมาใช้ไฟฟ้าแทน ไฟฟ้า สตาร์ท ติดง่ายแรงกว่าเมื่อใช้เครื่องยนต์ขนาดเท่ากัน เครื่องจักรไอน้ำ   ควัน มลพิษสูง   ช้า เปลืองทรัพยากรธรรมชาติ
-USA นิยมใช้รถไฟขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล๙๕ % เครื่องยนต์ดีเซลให้พลังงานมากกว่าเครื่องจักรไอน้ำ ๓ เท่า  รางกว้าง 1.453 เมตร ความเร็ว 160 กม./ ชม.
รถไฟกังหันไอพ่นความเร็วสูง
ยุโรป เอเชีย อเมริกา นิยมใช้กังหันไอพ่นขับเคลื่อนรถไฟความเร็วสูง  ๑๙๙๑ ชาวญี่ปุ่น เดินทางด้วยรถไฟกังหันไอพ่น
จุดเด่นของการโดยสารรถไฟเปรียบเทียบ Cars & Plains
-ชมทิวทัศน์ชัดกว่า                               -พื้นที่กว้างขวาง
ที่นอนสบายกว่า                                   -ประทับใจมีObservation car กระจกรูปโดมได้ทำความรู้จักกัน
ความตกต่ำของธุรกิจการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถไฟ เกิดจาก......? หลังค.ศ.1950 ใน USA การโดยสารรถไฟ  เสื่อมความนิยม ผู้คนหันไปใช้บริการรถยนต์ / เครื่องบินแทน  France+ Japan พัฒนา High-Speed Train ทำให้ได้รับความนิยมมาTGV (๑๗๐ ไมล์/ ชม.) แล่นถึงแหล่งท่องเที่ยว  ในToulon, French Rivera และ Lauzanne ของ Switzerland
การพัฒนาการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถไฟในประเทศญี่ปุ่น
รถไฟชินกังเซ็น(๑๕๐ ไมล์/ ชม) ยังมี Supper train หรือbullet train(รถไฟหัวกระสุน)  ๑๘๕ ไมล์/ ชม(๕๐๐ กม/ ชม.)ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งญี่ปุ่นและต่างชาติญี่ปุ่นกำลังทดลองรถไฟฟ้าแม่เหล็ก(Maglev) เพื่อบริการนักท่องเที่ยว ขับเคลื่อนด้วยแรงแม่เหล็ก ลอยเหนือรางไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นแรงเสียดทานและไม่ต้องการการบำรุงรักษา
การจัดกลุ่มรถไฟตามความเร็วมี ๓ กลุ่ม
-กลุ่มที่วิ่งเร็วประมาณ 100 กม./ชม. เป็นรถจักรดีเซลและดีเซลราง ขับเคลื่อนด้วยดีเซลใช้ในไทยและอีกหลายประเทศ
-ใช้เครื่องยนต์ดีเซลวิ่งเร็ว140-180 กม./ชม. ไม่ใช้ไฟฟ้า จัดเป็นรถไฟความเร็วสูง(High Speed Train) พ.ศ.๒๕๓๑ ฝรั่งเศสนำรถไฟ ๒ ชั้นมาให้บริการ(Double Decker Cars)ประเทศในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลียและจีนใช้ตาม ความจุเพิ่มเป็น ๒ เท่า
-กลุ่มที่วิ่งเร็วกว่า๒๐๐ กมต่อชม.ขับเคลื่อนด้วยพลังไฟฟ้า Bullet Trains Shinkansen บุกเบิกTGV พัฒนาความเร็วที่สุดเหนือกว่า
พัฒนาการรถไฟในประเทศไทย
แรงบันดาลใจที่ต้องการให้มีรถไฟเกิดขึ้นในสมัย ร. 4  เมื่อ Queen Victoria ของอังกฤษ ส่งรถไฟย่อส่วนให้เซอร์   จอห์น บาวริ่งนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายในปี พ.. 2398
การขนส่งทางรถไฟ
การริเริ่มขนส่งผู้โดยสารเกิดขึ้นในสมัย ร. 5 เมื่อมีการสำรวจเพื่อก่อสร้าง      ทางรถไฟปี พ.. 2430 จากกรุงเทพฯไป   เชียงใหม่   แล้วแยกไปจังหวัดสำคัญทางเหนือและอีสาน
การสถาปนากรมรถไฟ
-ต..๒๔๓๓  .5 สถาปนากรมรถไฟ  (กระทรวงโยธาฯ)
-พ.. 2433-2443 สร้างทางรถไฟสายแรกระหว่าง กรุงเทพฯ-โคราช
-๒๖๕กม. สร้างเป็นระยะๆ ทีละช่วงๆ
-ผู้รับเหมาคนแรกคือ G. Murphy Campbellชาวอังกฤษ
-เสด็จฯเปิดสายแรก กรุงเทพ.-อยุธยา๒๖ มี.ค. ๒๔๓๙(๗๘กม.) ทรงวางฤกษ์๙ มี.ค.๒๔๓๔ วันรถไฟไทย
กรมรถไฟพัฒนาเป็นกรมรถไฟหลวง
·        ๕ มิ.ย.๒๔๖๗ ร. 6 ยกฐานะกรมรถไฟเป็น กรมรถไฟหลวง พระเจ้าน้องยาเธอ  กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นผู้บัญชาการรถไฟหลวงพระองค์แรก
·        .. 2494 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ยกฐานะกรมรถไฟหลวงเป็น การรถไฟแห่งประเทศไทย พลเอกจรูญ รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์     เป็นผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทยคนแรก
·        มีพนักงานรถไฟไทยไม่น้อยกว่า 21,679คน มีสถานีรถไฟ 433 แห่ง
·        ที่หยุดรถ๑๖๓ แห่ง ป้ายหยุดรถ ๕๓ แห่ง

ทางรถไฟในไทย
-เปิดการเดินรถแล้วรวมทั้งสิ้น 4,346 กิโลเมตร
-ร.๕ เปิดเดินรถ๗๗๔ก.ม./ หรือ๙๓๒ ก.ม.                          -ร.๖๑,๘๐๔ ก.ม.
-ร.๗  ๔๑๘ ก.ม.                                                                     -ร.๘  ๒๕๙ก.ม.
ข้อได้เปรียบการโดยสารทางรถไฟ
·                    เหมาะสำหรับการขนส่งระยะปานกลางและไกลต้นทุนคงที่ค่าเชื้อเพลิงต่อหน่วยการขนส่งต่ำ
·                    บรรทุกได้มาก
·                    ปรับตัวตามปริมาณการขนส่งได้ง่าย(เพิ่ม/ ลดตู้)
·                    ปลอดภัยสูง ทางวิ่งของตนเอง
·                    สะดวกสบายระหว่างการขนส่ง(ไม่ขรุขระ)
เสียเปรียบในการโดยสารทางรถไฟ
·                    ลงทุนมาก
·                    ขาดความคล่องตัวในการบริการ
·                    การขนส่งระยะใกล้ มีต้นทุนสูง
·                    ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเส้นทางในการให้บริการได้   แม้จะประสบสภาวะขาดทุน
·                    หากเลิกกิจการจะเสียหายมาก  ขายอุปกรณ์ออกยาก  ขายขาดทุน
องค์ประกอบการขนส่งทางรถไฟ
๑.ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตบริการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถไฟ ตอบสนองผู้ใช้บริการเพื่อบำเหน็จทางการค้า แบ่งเป็น ภาครัฐบาล เป็นเจ้าของและลงทุนและภาคเอกชนรัฐอนุญาตให้เอกชนลงทุน
๒.ขบวนรถไฟ ยานพาหนะที่ใช้ขนส่งผู้โดยสารด้วยรถไฟประกอบด้วยหัวรถจักรและตู้โดยสา หัวรถลากจูงมี 3 ประเภท คือ
-หัวรถจักรไอน้ำ มีหม้อน้ำและเรือนไฟ ต้มน้ำเป็นไอ ขยายตัวดันลูกสูบให้เดินหน้าและถอยหลังในลูกสูบ การ เคลื่อนที่ของลูกสูบจะหมุนล้อรถจักร
-หัวรถจักรไฟฟ้า ใช้พลังไฟฟ้าจากเสาด้านบนหรือรางที่สวมข้างๆ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าหลายตัว มีแรงสูง  เบา ไม่ต้องบรรทุกน้ำและเชื้อเพลิง หยุดง่าย ควบคุมง่าย ออกตัวดี ไม่มีมลพิษ
-หัวรถจักรดีเซล ใช้เครื่องยนต์แบบรถยนต์ ใช้น้ำมันดีเซล แรงสู้หัวจักรไฟฟ้าไม่ได้  ไม่ต้องใช้สายไฟหรือรางพิเศษ ควันไม่มาก             หัวจักรดีเซลแบ่งเป็น  1.หัวจักรดีเชลไฟฟ้า 2.หัวจักรดีเซลเครื่องกล 3.หัวจักรดีเซลไฮโดรลิค

ขบวนรถไฟโดยสารไม้เหล็กหรืออลูมิเนียม

-.ขบวนรถธรรมดา (Ordinary Train) จอดทุกสถานี   ไม่เสียค่าธรรมเนียม ต้องหลีกทางให้ใคร
-ขบวนรถเร็ว (Rapid Train) จอดบางสถานี   เสียค่าโดยสาร+บวกค่าธรรมเนียม   หลีกทางรถด่วน
-ขบวนรถด่วน (Express Train) จอดน้อยกว่ารถเร็ว   เสียค่าธรรมเนียมรถด่วน
๓.เส้นทางรถไฟ แบ่งได้ 2 ระบบแต่ละภูมิภาคสั้น-ยาวไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับความต้องการทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคม
-ระบบทางเดียว (Single Line) เป็นระบบที่รถไฟวิ่งได้ขบวนเดียว สวนทางกันไม่ได้ ต้องหยุดรอ
-ระบบทางคู่ขนาน (Double Line) เป็นทางรถไฟที่สร้างคู่ขนานกัน สวนกันได้ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูง
๔.สถานีรถไฟ สถานที่สำหรับให้ขบวนรถไฟเข้าจอดรับผู้โดยสาร และสับหลีกกันแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
-สถานีต้นทางปลายทาง สถานีต้นทางหรือปลายทางของเส้นทางที่กำหนดให้
-สถานีชุมทาง สถานีที่มีเส้นทางรถไฟหลายเส้นทางมาบรรจบกัน เพื่อให้สามารถต่อไปเส้นทางอื่นได้
-สถานีรายทาง สถานีระหว่างเส้นทางที่ให้บริการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถไฟ
การให้บริการขนส่งผู้โดยสารด้วยรถไฟ
-ผูกขาดโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รัฐวิสาหกิจ)
-รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้โดยสารแบบผูกขาดทั่วราชอาณาจักร
-ให้บริการระหว่างเมืองจากกรุงเทพฯสู่จังหวัดต่างๆตามเส้นทางที่กำหนด
การให้บริการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมือง
-สายเหนือ                      -สายตะวันออก/เหนือ                           -สายตะวันออก
-สายตะวันตก                 -สายใต้                                     -สายแม่กลอง

เส้นทางรถไฟ
การให้บริการผู้โดยสารด้วยรถไฟระหว่างเมือง
สายเหนือ (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 751 กม.) เริ่มต้นที่กรุงเทพฯ ชุมทางบ้านภาชี (อยุธยา) - เชียงใหม่
สายตะวันออกเฉียงเหนือ แยกออกเป็น 2 สาย   -สายที่ 1 กรุงเทพฯ-(ชุมทางถนนจิระ)โคราช-อุบลราชธานี  575 กม.   
  -สายที่ 2 กรุงเทพฯ-(ชุมทางถนนจิระ)โคราช-หนองคาย (624 กม.)
สายตะวันออก จากกรุงเทพฯ อรัญประเทศ ( 255 กม.)
สายใต้ แยกออกเป็น 2 สาย                          -สายที่ 1 กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์(990 กม.
 -สายที่ 2  กรุงเทพฯ-ชุมทางหาดใหญ่- สุไหงโกลก ( 1,159 กม.
สายตะวันตก แยกเป็น 2 สายได้แก่                     -สายที่ 1 กรุงเทพฯ-สุพรรณบุรี(ระยะทาง 157กม.)
 -สายที่ 2  กรุงเทพฯ-กาญจนบุรี (ระยะทาง 210 กม.)
สายแม่กลองจากวงเวียนใหญ่-มหาชัย-แม่กลอง  60 กม.
รูปแบบการให้บริการผู้โดยสารด้วยรถไฟระหว่างเมือง
ขบวนรถด่วน (Express Train) บริการเฉพาะชั้น 1 และชั้น 2  (บางขบวนอาจมีชั้น 3 ได้)
ขบวนรถเร็ว (Rapid Train) บริการ ชั้น 2 และชั้น 3 ส่วนชั้น 1 ไม่เป็นที่นิยมนัก
ขบวนรถธรรมดา (Ordinary Train) บริการ ชั้น 3 เท่านั้น
ขบวนรถดีเซลราง (เรียกอีกชื่อว่า รถโบกี้กลไฟ) เป็นขบวนรถที่ขับเคลื่อนได้โดยไม่ต้องใช้หัวรถจักรลากจูง
การขนส่งผู้โดยสารในกรุงเทพฯด้วยรถไฟฟ้า
รถไฟฟ้าลอยฟ้า Sky Train บ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ จ.ก.(มหาชน) (BTS-Bangkok Mass Transit System)
รถไฟฟ้าใต้ดิน Underground Train บ.รถไฟฟ้ากรุงเทพฯจำกัด (มหาชน) (BMCL-Bangkok Metro Public Company Ltd.)

รถไฟฟ้าแบบลอยฟ้า 
เริ่มบริการ 5 .. 2542 เปิดเป็นทางการเมื่อ 21 .. 2543         มี 2 เส้นทาง
1.สายสุขุมวิท (รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6รอบ สายที่1) เริ่มจาก ถ.สุขุมวิท ซอย 81 (อ่อนนุช) – หมอชิต (17 กม. 17 สถานี) ซึ่งรวมสถานีร่วมสำหรับเปลี่ยนสายสีลมที่สถานีสยามด้วย
2. สายสีลม (สายที่ 2) เริ่มจากสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สะพานสาธร) ฝั่งกรุงเทพฯ สนามกีฬาแห่งชาติ (6.5 กม. 7 สถานี ซึ่งรวมสถานีร่วมสำหรับเปลี่ยนสายสุขุมวิทที่สถานีสยามด้วย
ลักษณะการให้บริการของรถไฟลอยฟ้า
-ครอบคลุมพื้นที่หลักๆของกรุงเทพฯ                                   -ให้บริการได้มากกว่า 1,000 คน/ขบวน
-ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อน วิ่งบนทางคู่ยกระดับ               -ความกว้างของราง 1.453 เมตร
-มีรางป้อนกระแสไฟฟ้าอยู่ด้านข้าง                                    -บริการตั้งแต่ 06.00-24.00 . ทุกวัน
ค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS มี 4 แบบ:
-บัตรเที่ยวเดียว (10-40 บาท) เดินทางครั้งเดียวระหว่าง 2 สถานี
-บัตรเติมเงิน (ราคา 100 บาท โดยรวมค่ามัดจำ 30 บาท) ใช้ได้ 2 ปี
-บัตร 30 วัน (สำหรับนักเรียน และบุคคลทั่วไป มีหลายราคา)
-บัตร 1 วัน (100 บาท) เดินทางใน 1 วัน ไม่จำกัดเที่ยว&ระยะทาง
-มีบริการรถรับส่งสำหรับบัตร 30  วันและบัตรเติมเงิน
ลักษณะการลงทุนของBMCLเป็นการลงทุนร่วมระหว่าง 3 กลุ่มทุนขนาดใหญ่ของประเทศ ได้แก่
-กลุ่มธนาคารพาณิชย์          -กลุ่มแนชเชอรัลพาร์ค          -กลุ่ม ช. การช่าง
รฟม. รับผิดชอบ 4 โครงการดังนี้
-โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายรัชมงคล (หัวลำโพง-บางซื่อ) ระยะทาง 20 กม.
-โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางแค) 13.8 กม.
-โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-สะพานพระนั่งเกล้า) ระยะทาง 11.6 กม.
-โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (บางกะปิ-ราษฎร์บูรณะ) 34.6 กม.
-รวมระยะทางทั้งสิ้น 80 กม.
***การปฎิวัติ 19 ก.ย. 2549ส่งผลกระทบการกู้เงินเจบิก
Airport Link Magasan -Suvarnabhum
                    ทดสอบ 25  มกราคม 52
                    ใช้เวลา 15 นาที
                    วิ่งจริง 12 สิงหาคม 2552
รถไฟฟ้าใต้ดินในต่างประเทศ
-UKมีรถไฟใต้ดินเป็นประเทศแรกในโลกที่London เมื่อปี พ.. 2406 ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไอน้ำ ปัจจุบันใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุม
-ใน USA  ที New York มีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินมากที่สุดในโลก (รวมทั้งสิ้น 469 สถานี) และแต่ละวันจะมีผู้โดยสารประมาณ 5 ล้านคน
โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินที่เปิดให้บริการสายแรก คือ
***สายเฉลิมรัชมงคล (มี 18 สถานี) เริ่มจาก บางซื่อ-หัวลำโพง ใช้เวลาเดินทางทั้งสิ้น 30 นาที และสามารถต่อรถไฟฟ้า BTS ได้ 3 จุดด้วยกันคือ สถานีสีลม สุขุมวิท และ สวนจตุจักร
บัตรโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน: มี 2 แบบ
·         บัตรโดยสารเที่ยวเดียว เป็นเหรียญพลาสติคสีดำ (ขนาดประมาณ เหรียญ 10 บาท) มีหลายราคา
·         บัตรโดยสารหลายเที่ยว เป็นบัตรคล้ายบัตร ATM (แลก 300 บาท จะเป็นค่ามัดจำ 50 บาท และ 250 บาทที่เหลือเป็นค่าโดยสาร) สามารถเติมเงินได้
นอกจากนี้ ยังมีที่จอดรถ เป็นตึก 9 ชั้นที่บริเวณสถานีลาดพร้าว Park and Ride (จอดแล้วจร) สามารถจอดได้ประมาณ 2,200 คัน
สรุป
การขนส่งผู้โดยสารทางรถไฟ เป็นการเคลื่อนย้ายคนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยอาศัยโบกี้รถไฟมาต่อพ่วงกันและใช้หัวรถจักรลากจูงข้อดีของการเดินทางโดยรถไฟคือ ปลอดภัย ขนส่งได้มาก ไม่รีบเร่งนัก ส่วนข้อเสียคือ ช้า ไม่อาจบริการแบบ Door-to-Door ได้และ การลงทุนสูง ฯลฯ
องค์ประกอบการขนส่งทางรถไฟ ได้แก่ 1) ผู้ประกอบการ 2) ขบวนรถไฟ 3) เส้นทาง/รางรถไฟและ 4) สถานีรถไฟ
รูปแบบการให้บริการ ประกอบด้วย การให้บริการในเมือง และ ระหว่างเมือง เป็นต้น
*************************************************************************************************************************