วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Modernism



                                                                             Modernism


                                                


“ศิลปะสมัยใหม่” (Modern Art) และ “ลัทธิสมัยใหม่” (Modernism, โมเดิร์นนิสม์) คือ ทัศนคติใหม่ๆที่มีต่ออดีตและอนาคต ซึ่งเป็นไปแบบสุดขั้ว โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ที่ถือกันว่าเป็นยุคปฏิวัติของยุโรป ศิลปินเริ่มที่จะให้การยอมรับการเขียนภาพ “เหตุการณ์ปัจจุบัน-ร่วมสมัย” ในยุคของตนว่า สามารถมีคุณค่าทางศิลปะได้เท่าเทียมกับภาพเขียนเรื่องราวในอดีตตั้งแต่ยุคโบราณ หรือยุคประวัติศาสตร์จากคัมภีร์ไบเบิล การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขนานใหญ่ทั่วยุโรปใน ปี 1848 ประกอบกับการอ่อนแรงของศิลปะแบบทางการ หรือ ศิลปะตามหลักวิชา (academic art) ทำให้กระแสศิลปะลัทธิสมัยใหม่ยิ่งเติบโต

จิตรกรแนว นีโอ-คลาสสิสม์ (Neo-Classicism) อย่าง ฌาค หลุยส์ ดาวิด (Jacques Louis David) เขียนภาพเหตุการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศส จิตรกรแนว โรแมนติสิสม์ (Romanticism) อย่าง ฟรานซิสโก เดอ โกย่ (Francisco de Goya) เขียนภาพเหตุการณ์ตอนที่นโปเลียนจากฝรั่งเศสรุกรานสเปน เรื่องราวที่จิตรกรทั้งสองเขียนในภาพของพวกเขา ได้ช่วยแผ้วถางทางของศิลปะในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดังที่เห็นได้จากงานศิลปะที่ปฏิเสธการเขียนภาพเกี่ยวกับอดีต ของศิลปิน เรียลลิสม์ (Realism, สัจนิยม) อย่างเช่น กุสตาฟ กูร์เบต์ (Gustave Courbet) และ เอดัวร์ มาเนต์ (Edouard Manet)

Modernism โมเดิร์นริซึ่ม คือ งานศิลปะและการออกแบบในศตวรรษที่ 20 เป็นการขานรับการเติบโตของความเป็นระบบอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในช่วงสิบปีทองของต้นศตวรรษ เราเรียกกลุ่มเคลื่อนไหวศิลปะในช่วงนี้ว่า Modernism (1920-1930) หัวใจของการออกแบบของโมเดริ์นริซึ่ม
1. ไม่ทิ้งความเป็นสุนทรียภาพในงานเชิงหัตถกรรม แต่ผลิตด้วยระบบเครื่องจักรอย่างประณีต เพื่อให้ได้งานที่มีความเป็นมาตรฐานเสมอกันในทุกชิ้น
2. คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก
3. ลดการตกแต่งฟุ่มเฟือย แต่เน้นในเรื่องของโครงสร้างหลัก จึงทำให้งานออกมาเรียบง่ายและขึงขัง
4. เป็นการตอบรับเทคโนโลยี ด้วยการลดบทบาททางการวาง Concept หรือแนวความคิดที่ลึกซึ้ง และเน้นความเรียบง่ายในแนวความคิด


เบาเฮ้าส์ Bauhaus
การปฏิบัติการของกลุ่ม Bauhaus
กลุ่ม Bauhaus รวมตัวกันที่ประเทศเยอรมัน มีแนวคิดที่ชัดเจน ว่าเกิดจากผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 1เป็นการสร้างกลุ่มใหม่ ที่ไม่ได้สนับสนุนกลุ่มที่เน้นทางหัตถกรรมอย่างเช่น กลุ่ม Art and Craft movement หรือสนับสนุนเครื่องจักรจนสุดขั้วอย่างกลุ่มนิยมเครื่องจักรกลในยุคเริ่มต้น เกิดจากการสร้างสรรค์งานออกแบบแนวใหม่ที่ให้ผลประโยชน์ทั้งในความงาม ( แบบหัตถกรรม) และความแม่นยำในการผลิตด้วยเครื่องจักรหลักการของเบาเฮ้าส์ จึงมีอยู่ว่า เน้นเรื่องการออกแบบที่นักออกแบบจะต้องออกแบบงานให้เหมาะสมกับวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม และ ให้คำนึงถึงรูปร่างที่เครื่องจักรผลิตได้ยุคเริ่มต้นในปี 1919 การรวมกลุ่มของเบาเฮ้าส์ ด้วยการมีทิศทางที่ชัดเจน จึงทำให้พวกเขาสามารถ รวมกลุ่มกันเปิดสถาบันสอวิชาการออกแบบ ขึ้นที่เมืองไวมาร์ โดยตั้งชื่อสถาบันว่า “ โรงเรียนสถาปัตยกรรมแห่งรัฐไวมาร์” หัวใจหลักของการศึกษา มีอยู่ว่า “ให้ทำลายกำแพงที่ขวางกั้นระหว่างคำว่า ศิลปะ (art) และ ช่างฝีมือ (Craft) ไปเสีย และให้นำศิลปะรวม คือ แนวการผสานเทคนิคทางจิตรกรรม, งานฝีมือ, ประติมากรรม, สถาปัตยกรรม มารวมไว้ด้วยกัน” และ นี่ยังเป็นหลักการของสถาบันเบาเฮ้าส์ในเวลาต่อมา

ปี 1923 เบาเฮ้าส์ จัดนิทรรศการตัวเองครั้งแรก โดยการเปิดตัว “ บ้านเชิงทดลอง” ซึ่งมีนักออกแบบที่ ชื่อ จอร์จ มุเค่ ( George Muche) ลักษณะ เนื้อที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เน้นเนื้อที่ที่เปิดกว้างเพื่อให้ประโยชน์ใช้สอยสูงสุด เช่น ส่วนที่เป็นครัว จะต่อเรียงกันเป็นแนวยาว ไม่แยกส่วน แนวความคิด คือ เน้นประโยชน์ใช้สอย ห้องทุกห้องต้องมีจุดมุ่งหมาย ไม่ทิ้งให้เป็นห้องที่ไร้ประโยชน์
ปี 1925 เริ่มมีการรวมกลุ่มพวกชาตินิยมเกิดขึ้นในเยอรมัน เบาเฮ้าส์ จึงต้องย้ายไปอยู่ยังเมือง “ เดสเซา ” ( Dessau ) และ ที่เดสเซา เบาเฮ้าส์ได้บรรลุถึงจุดสำเร็จในแนวความคิดของตนเอง โดยสถาบันเน้นที่จะผลิตนักออกแบบอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ การขานรับนโยบายสนองตอบการ “ ออกแบบให้คนหมู่มาก” เนื่องจากภาวะหลังสงครามโลก เป็นภาวะที่เยอรมันต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เบาเฮ้าส์จึงทำหน้าที่ของตนอย่างนักออกแบบที่ดี จึงมีแนวความคิดในการผลิตงานอยู่ที่ว่า “ เพื่อประโยชน์ให้สอยที่ดี( ฟังก์ชั่นนิสซึ่ม)เพื่อคุณภาพที่ดีและ เพื่อปริมาณทีดี” อิทธิพลเบาเฮ้าส งานของ ลุดวิก มีส วาน เดอร์ โรห์ ชื่อ “ เก้าอี้บาเซียโลนา” ผลิตเมื่อปี 1929 ทำจากโครงสร้างเหล็ก และ โครเมียม บุด้วยเครื่องหนังออกแบบให้กับปะรำในเยอรมัน

ในจุดเริ่มต้นของศิลปินสมัยใหม่ พวก อิมเพรสชันนิสต์ (Impressionist, Impressionism) และ โพสต์-อิมเพรสชันนิสต์ (Post-Impressionist, Post-Impressionism) จะทำการปฏิเสธทั้งการเขียนภาพเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และยังไม่สนใจขนบของการสร้างภาพลวงตา (เขียนให้เหมือนจริงมาก) ซึ่งพัฒนามาตั้งแต่ ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา

“ความใหม่” คือสิ่งที่ศิลปินสมัยใหม่ให้ความสำคัญ ทัศนคติแบบนี้จะปรากฏให้เห็นในแนวคิดเกี่ยวกับ “อาวองท์-การ์ด” (avant-garde, หัวก้าวหน้า) คำนี้เป็นศัพท์ทางการทหาร หมายถึง ทหารแนวหน้า (advance guard) ศิลปินอาวองท์-การ์ด หรือศิลปินหัวก้าวหน้า ได้กลายเป็นพวกที่ล้ำยุคล้ำสมัยของสังคม (ก้าวเร็วแซงหน้าจนชาวบ้านตามไม่ทัน) ถึงแม้ว่าความก้าวหน้ามากๆแบบนี้จะได้รับการยอมรับโดยทั่วไป แต่การที่ศิลปินอิสระจนหลุดพ้นไปจากกรอบของยุคสมัย บางทีก็ถูกปฏิเสธจากนักประวัติศาสตร์ศิลป์อยู่เหมือนกัน
บทบาทของผู้อุปถัมภ์ศิลปะในอดีตอย่าง ศาสนจักร รัฐ และขุนนาง ที่ลดลงไปอย่างมาก ได้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ลัทธิสมัยใหม่ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เพราะศิลปินสมัยใหม่จะมีอิสระเสรีที่จะคิดและทำศิลปะที่แตกต่างไปจากอดีต ซึ่งต้องทำตามความชอบของผู้ว่าจ้าง

นอกจากนี้ การค้าขายศิลปะตามระบบทุนนิยม ก็ยังเป็นตัวกระตุ้นให้ศิลปินทำการทดลองอะไรที่แปลกใหม่ คำว่า “ศิลปะเพื่อศิลปะ” ที่เริ่มแพร่หลายในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็ยิ่งกระจายออกไปอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำๆนี้สามารถใช้อธิบายศิลปะที่เกิดจากความคิดส่วนตัวของศิลปิน ที่มีความเป็นปัจเจกสูงเสียจนไม่ต้องการการอ้างอิงไปถึงประเด็นทางสังคมและศาสนา

การเติบโตของ ศิลปะสมัยใหม่ เป็นส่วนหนึ่งของการที่สังคมตะวันตกได้เปลี่ยนผ่านไปสู่ “ความเป็นอุตสาหกรรม”, “ความเป็นเมืองใหญ่แบบมหานคร” และการเป็นสังคมแบบวัตถุนิยมอย่างเต็มที่ ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปินสมัยใหม่ได้ท้าทายรสนิยมของชนชั้นกลาง โดยหาเรื่องและประเด็นใหม่ๆ รูปแบบใหม่ๆ ที่ดูแปลกประหลาดไปจากระเบียบแบบแผนดั้งเดิม

ศิลปะสมัยใหม่มักจะมีแนวเนื้อหาเกี่ยวกับ การเฉลิมฉลองเทคโนโลยี การค้นหาจิตวิญญาณ และ การกระตุ้นด้วยความป่าเถื่อน (จากความสนใจในศิลปะของคนป่า (Primitivism)) ศิลปินได้แสดงออกแนวเนื้อหาเหล่านั้นออกมาในรูปแบบที่แตกต่างหลากหลาย

แนวเนื้อหาของการเฉลิมฉลองเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ได้ปรากฏออกมาในรูปของการชื่นชม “ความเร็ว” ดังที่เห็นได้จากศิลปะในลัทธิ ฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism) การใช้แนวคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ปรากฏให้เห็นในงานของพวก คอนสตรัคติวิสม์ (Constructivism ในสหภาพโซเวียต)

การค้นหาจิตวิญญานจะมีอยู่ในงานของพวก ซิมโบลลิสม์ (Symbolism ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา) เดอ สตีล หรือ เดอะ สไตล์ (De Stijl/The Style ในเนเธอร์แลนด์) นาบิส (Nabis ในฝรั่งเศส ในคริสต์ศตวรรษ 1890) และ แดร์ บลาว ไรเตอร์ หรือ เดอะ บลู ไรเดอร์ (Der Blaue Reiter/The Blue Rider ในเมืองมิวนิค เยอรมนี) งานประเภทนี้ถือว่าเป็นปฏิกริยาโต้ตอบกับวัตถุนิยมในยุคสมัยใหม่

ความสนใจในความเถื่อนของศิลปะจากคนป่าและชาวเกาะ (อัฟริกันและชาวเกาะ หรือ โอเชียนนิค Oceanic) จะปรากฏชัดในงานของ โพสต์-อิมเพรสชันนิสม์ คิวบิสม์ (Cubism) และ เยอรมัน เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (German Expressionism ในเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 20) ความสนใจในสิ่งเหล่านี้เป็นตัวสะท้อนให้เห็นผลของลัทธิ “จักรวรรดินิยม” (Imperialism) ที่นิยมล่าอาณานิคม และอ้างว่าตน (ตะวันตก) “ค้นพบ” วัฒนธรรมของดินแดนอันไกลโพ้นเหล่านั้น

ตัวอย่าง เช่น

ภาพของ “ปาโบล ปีกัสโซ” จิตรกรเอกชาวสเปน มีชื่อว่าภาพ “ นู๊ด, Green Leaves, and Bust ”


                                                          

1. แอบมองหลังม่าน
ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าบริเวณหมายเลข 1 มีภาพใบหน้าของปีกัสโซซ่อนอยู่ตรงแบ็คกราวน์สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความสัมพันธ์อันผิดทำนองคลองธรรมหรือเป็นรักต้องห้ามระหว่างเขากับมารี-เตเรส

2. ภาพดับเบิ้ล หรือภาพส่วนศีรษะ
เหนือร่างอันเปลือยเปล่าของมารี-เตเรส ปรากฏภาพส่วนศีรษะของเธอตั้งอยู่บนแท่นหรือเสารูปทรงคลาสสิก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปีกัสโซชื่นชมและยกย่องในตัวเธอเป็นอย่างมาก

3. ใบไม้รูปหัวใจ
ต้นไม้ในภาพให้ความรู้สึกพลิ้วไหว มีชีวิตชีวา เหมือนกำลังเจริญงอกงาม และมีใบไม้สีเขียวใบหนึ่งที่เป็นรูปหัวใจ ซึ่งหมายถึงความรักที่เขามีต่อเธอ

4. เงาดำ
ภาพเงาดำที่พาดผ่านร่างอันเปลือยเปล่าของมารี-เตเรสยังคงสร้างความพิศวงให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านงานศิลปะ จึงมีการตีความที่หลากหลายแตกต่างกัน โดยเฉพาะเงาดำที่อยู่บริเวณลำคอ บางคนกล่าวว่าเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของและแอบครอบครอง (เป็นชู้รัก) ขณะที่บางคนบอกว่าเงาดำบริเวณลำคอถือเป็นการยกย่องภาพวาดของศิลปิน “อองรี มาติสส์” ที่อยู่ในความครอบครองของปีกัสโซ มาติสส์ เคยวาดภาพลูกสาวคนโตสวมโช้คเกอร์หรือสร้อยแบบติดคอสีดำ

5. ผลไม้ต้องห้าม
ปีกัสโซ วาดภาพผลแอปเปิ้ลที่ได้ชื่อว่าเป็น “ผลไม้ต้องห้าม” อันเป็นสัญลักษณ์ของแรงดึงดูดทางเพศตามพระคัมภีร์เดิม ซึ่งในที่นี้หมายถึงมารี-เตเรสนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น